ถ้าใครจำได้ ก่อนหน้านี้ เมื่อราวๆ สมัยก่อน Android 5.0 ก่อนหน้านี้ UI ของ Android ก็เป็นไปตามการออกแบบของแต่ละแอพ คือไม่ได้มีรูปแบบที่ทุกคนต้อง Follow จริงจัง ว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้ UI ก็จะหน้าตาแบบนี้

ref. https://longren.io/make-cyanogenmod-7-1-look-like-android-4-0-ice-cream-sandwich-kinda/

หรือถ้าเก่ากว่านี้ก็คือ Gingerbread (หาดูใน google ได้)

ทีนี้เนี่ย สังเกตได้ว่า แต่ละเวอร์ชั่นที่ Google ปล่อยมา ก็ Design แบบใหม่ทีนึง ก็คือไม่มีการควบคุม Design ในตอนนั้น

Google ก็เลยคิดสิ่งนึงเรียกว่า Material Design (ถ้าจำไม่ผิด ปล่อยมาน่าจะ Lollipop หรือ Android 5.0 เป็นเวอร์ชั่นแรก) หลังจากนั้น Google ก็ใช้ Material Design มาตลอด รวมทั้งเริ่มปรับ Service บนเว็บหลายๆ ตัวให้เป็นไปตาม Material Design

สิ่งที่น่าสนใจคือ Material Design เนี่ยไม่ได้เป็นแค่การออกแบบ UI แต่มันคือสิ่งที่เรียกว่า “Visual Language”  ที่สามารถใช้การ Interact ได้ทั้งจากการ Touch หรือการคลิกเม้าส์ โดย Google ได้ Research มากมาย ดูได้ตามคลิปนี้

โดยใช้หลักการของแสง พื้นผิว การเคลื่อนที่ คือทำให้ ดูมีความเป็นธรรมชาติ ตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่สื่อความหมาย สิ่งนี้ทำให้ Developer อย่างเราสามารถ Dev แอพออกมาได้ดี โดยไม่ต้องใช้ Designer เลยก็ได้

หลังจากนั้นไม่นาน Google ก็เปิดหน้าเว็บ ที่บอกรายละเอียด ข้อมูล Spec/Best Practice เกี่ยวกับ Material Design (สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://material.io) ในนี้จะบอกทุกๆ อย่างรวมทั้งหลักการ ว่าควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร บอกยัน Components หรือการใช้สี แสงเงา ซึ่งเข้าไปทำตามได้เลย

นอกจากนี้ยังมีหน้าเว็บที่เอาไว้ช่วยเลือกสี หลักการใช้สีที่ถูกต้องด้วย สามารถเข้าไปจิ้มได้ที่ https://material.io/color

ทีนี้ก็กลายมาเป็นอีกคำถามนึงคือถ้าเราทำแบบนี้แล้วเราสามารถควบคุม Brand Identity ได้ยังไง แน่นอน Google ก็มีหน้าเว็บไว้ให้ Follow เช่นกัน https://design.google/library/expressing-brand-material/

รับรอง ถ้า Follow ตาม Guideline แอพจะออกมาสวยและดีแน่นอน

ภาพปก – Google